Header Ads

1.ขาดสอบ N-NET ต้องสอบ e-Exam เท่านั้นหรือ, 2.ครูสอนคนพิการ ครู ศรช.เบิกค่าคุมสอบ, 3.เรียน ม.4 ปีเดียว เทียบโอนได้ไหม, 4.สงสัยการประเมินพนักงานราชการ

1.ขาดสอบ N-NET ต้องสอบ e-Exam เท่านั้นหรือ, 2.ครูสอนคนพิการ ครู ศรช.เบิกค่าคุมสอบ, 3.เรียน ม.4 ปีเดียว เทียบโอนได้ไหม, 4.สงสัยการประเมินพนักงานราชการ
.
1. วันที่ 8 ก.ย.57 จิตรัตน์ดา นากรณ์ ครู กศน.ตำบล กศน.อ.ธาตุพนม ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า นศ.กศน.ที่ขาดสอบ N-NET ทางเจ้าหน้าที่ทะเบียนแจ้งว่าจะไม่มีสิทธิ์สอบ N-NET ในภาคเรียนต่อไป ต้องสอบ e-exam เท่านั้น จริงหรือเปล่า
ผมตอบว่า ถ้ามีเหตุผลความจำเป็นที่ขาดสอบ N-NET ภาคเรียนนี้ และต้องรีบจบก็สามารถเข้าสอบ e-Exam "ภาคเรียนนี้" แทนได้ ถ้าภาคเรียนนี้ไม่เข้าสอบ e-Exam อีก เดิม ภาคเรียนต่อไปให้เข้าสอบ N-NET ได้ แต่ปัจจุบัน ถ้าเคยส่งรายชื่อเข้าสอบ N-NET แล้วขาดสอบ จะหมดสิทธิสอบ N-NET แล้ว ต้องสอบ e-Exam เท่านั้น
.
2. เย็นวันที่ 14 ก.ย.57 ผมตอบคำถาม Jakkaphan Phanwilai ที่ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า ครูผู้สอนคนพิการ ครู ศรช. คุมสอบเบิกค่าคุมสอบได้
ผมตอบว่า ครู กศน.ทุกประเภทเป็นกรรมการกลางได้ ส่วนการคุมสอบ กศน.มีนโยบายไม่ให้ครูคุมสอบกลุ่ม นศ.ของตนเอง เรื่องเบิกค่าคุมสอบก็สามารถเบิกได้เต็มถ้าเป็นวันหยุดของเขา ( บางคนหยุดวันศุกร์เสาร์ วันอาทิตย์เป็นวันทำงานของเขาก็เบิกค่ากรรมการสอบวันอาทิตย์เต็มไม่ได้ ) ดูในข้อ 1. ที่ http://www.gotoknow.org/posts/522210
.
3. เย็นวันที่ 18 ก.ย.57 Aed Ka ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า เรียนมาปีเดียว ( แค่ ม.4 ) เทียบโอนได้มั้ย
ผมตอบว่า ถ้าลาออกมา ก็เอาใบระเบียนไปให้ กศน.อำเภอดูว่าจะเทียบโอนวิชาอะไรได้บ้างไหม ดูว่าวิชาที่เรียนมาแล้วได้เกรด 1 ขึ้นไป ถ้าสอดคล้องกับวิชาอะไรของ กศน.อำเภอนั้น ( หน่วยกิตไม่น้อยกว่าวิชาของ กศน.ที่จะเทียบโอนด้วย ) ก็เทียบโอนได้
แต่เรียนมาปีเดียวมักจะเทียบโอนได้น้อยเพราะได้หน่วยกิตมาน้อย กศน.แต่ละแห่งเทียบโอนได้ไม่เท่ากันเพราะวิชาเลือกของแต่ละ กศน.อำเภอ ไม่เหมือนกัน
.
4. ดึกวันที่ 22 ก.ย.57 Aoy Sudthida กศน.เมืองหนองคาย ถามผมในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า การประเมินครูอาสากับครู กศน.ตำบลใช้หลักเกณฑ์เดียวกันไหม ถ้าคนละเกณฑ์แยกการประเมินและเรียงคะแนนต่างหากรึเปล่า หรือเอาคะแนนมาเรียงกันทั้ง ครู กศน.ตำบลและครูอาสาฯภายในอำเภอนั้น
ผมตอบว่า
1) แบบประเมินพนักงานราชการเป็นลักษณะเดียวกัน แต่มีความยืดหยุ่นให้ปรับรายละเอียดได้ ฉะนั้นรายละเอียดในแบบประเมินของครูอาสาฯกับครู กศน.ตำบลจึงต่างกัน
2) หลักเกณฑ์การประเมิน เหมือนกัน เช่น ต้องได้คะแนนเฉลี่ย 2 ครั้งในระดับดี ( 75 % ) ขึ้นไป จึงจะได้เลื่อนค่าตอบแทน
3) จะแยกการประเมินเป็น 3 กลุ่ม แล้วเรียงคะแนนในแต่ละกลุ่มแยกกัน หรือ เอาคะแนนมาเรียงกันทั้งหมด ไม่แยกกลุ่ม ก็ได้ อยู่ในดุลยพินิจของแต่ละอำเภอ ( 3 กลุ่มคือ 1.กลุ่มครูปอเนาะ, 2.กลุ่มครู กศน.ตำบล, 3.กลุ่มครูอาสาฯรวมอื่นๆ )
ถ้าไม่แยกกลุ่ม โดยทุกคนอยู่กลุ่มเดียวกันและอำเภอเดียวกัน ผู้ที่ได้คะแนนระดับสูงกว่า จะได้ % เลื่อนค่าตอบแทนน้อยกว่าผู้ที่ได้คะแนนระดับต่ำกว่าไม่ได้ แต่ถ้าแยกกลุ่ม ผู้ที่ได้คะแนนระดับสูงกว่าอาจะได้ % เลื่อนค่าตอบแทนน้อยกว่าผู้ที่ได้คะแนนระดับต่ำกว่าของกลุ่มอื่นหรืออำเภออื่นได้ ( ตำแหน่งเดียวกันแต่อยู่ต่างอำเภอถือเป็นคนละกลุ่ม เรียงลำดับเฉพาะในกลุ่มเดียวกัน )
การประเมินแต่ละครั้ง ก็ย่อมมีผู้ไม่พอใจ ซึ่งมีทั้งการประเมินไม่ค่อยยุติธรรม หรือ ผู้รับการประเมินคิดเข้าข้างตัวเอง

ขับเคลื่อนโดย Blogger.