"สุรเชษฐ์" ติดตามความก้าวหน้าศูนย์ประสานงานอีอีซี...
รมช.ศึกษาธิการ ถกทางไกลติดตามความก้าวหน้า ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หวังผลิตกำลังคนกว่า 1 แสนคนป้อนตลาดอุตสาหกรรมให้ได้ภายใน 5 ปี...
วันนี้ (30 มิ.ย.) วิทยาลัยสารพัดช่างชลบุรี จ.ชลบุรี พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ พร้อมด้วย ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) และคณะทำงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ร่วมประชุมทางไกลติดตามความก้าวหน้าของศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC TVET Career Center (Eastern Economic Corridor Technical and Vocational Education and Training Career Center) โดย พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ได้แก่ จ.ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยองนั้น ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา (สอศ.) ตนได้กำชับการเตรียมผลิตบุคลากรเพื่อรองรับกับนโยบายดังกล่าว โดยขณะนี้ได้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานอีอีซีใหญ่ ที่วิทยาลัยสารพัดช่างชลบุรี จังหวัดชลบุรี โดยจะใช้ชื่อว่า ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC TVET Career Center) และมีศูนย์ประสานงานย่อยที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชลบุรี และวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อีเทค) ส่วนจังหวัดระยองมีศูนย์ประสานงานหลักที่วิทยาลัยเทคนิคระยอง และศูนย์ประสานงานย่อยที่ วิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด และ วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย จ.ระยอง ส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรามีศูนย์ประสานงานหลักที่ วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา และมีศูนย์ประสานงานย่อยที่วิทยาลัยการอาชีพบางปะกง วิทยาลัยการอาชีพพนมสารคาม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา และวิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า นอกจากการจัดตั้งศูนย์ประสานงานอีอีซีแล้ว ยังมีความก้าวหน้าด้านการบริหารจัดการ เช่น ด้านการให้บริการข้อมูล เพื่อวางแผนการผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพมาตรฐานสากล การประเมินและวิเคราะห์ความต้องการกำลังคนรองรับกำลังคนในอุตสาหกรรม 4.0 และภาคบริการ ซึ่งดำเนินการภายใต้ความร่วมมือกับสถานประกอบการ และหน่วยงานในพื้นที่ทุกภาคส่วน ซึ่งขณะนี้ สอศ. ได้จัดทำเว็บไซต์ eec.vec.go.th . เพื่อให้บริการข่าวสารข้อมูลความก้าวหน้าในการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา อัตราความต้องการกำลังคนของภาคอุตสาหกรรม หลักสูตรที่สอดคล้องกับ S-Curve และ New S-Curve เช่น สาขายานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรมการบิน-ซ่อมบำรุงอากาศยาน โลจิสติกส์ การคมนาคมระบบรางคู่และรถไฟฟ้าความเร็วสูง เป็นต้น
“เรามีเป้าหมายการผลิตกำลังคนอาชีวศึกษา ปี 2560-2564 เพื่อสนับสนุนเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยมีหลักสูตรระยะสั้น 125,880 คน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 29,925 คน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 39,250 คน และปริญญาตรี 2,430 คน “ พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าว ... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/education/582731
วันนี้ (30 มิ.ย.) วิทยาลัยสารพัดช่างชลบุรี จ.ชลบุรี พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ พร้อมด้วย ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) และคณะทำงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ร่วมประชุมทางไกลติดตามความก้าวหน้าของศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC TVET Career Center (Eastern Economic Corridor Technical and Vocational Education and Training Career Center) โดย พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ได้แก่ จ.ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยองนั้น ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา (สอศ.) ตนได้กำชับการเตรียมผลิตบุคลากรเพื่อรองรับกับนโยบายดังกล่าว โดยขณะนี้ได้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานอีอีซีใหญ่ ที่วิทยาลัยสารพัดช่างชลบุรี จังหวัดชลบุรี โดยจะใช้ชื่อว่า ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC TVET Career Center) และมีศูนย์ประสานงานย่อยที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชลบุรี และวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อีเทค) ส่วนจังหวัดระยองมีศูนย์ประสานงานหลักที่วิทยาลัยเทคนิคระยอง และศูนย์ประสานงานย่อยที่ วิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด และ วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย จ.ระยอง ส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรามีศูนย์ประสานงานหลักที่ วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา และมีศูนย์ประสานงานย่อยที่วิทยาลัยการอาชีพบางปะกง วิทยาลัยการอาชีพพนมสารคาม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา และวิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า นอกจากการจัดตั้งศูนย์ประสานงานอีอีซีแล้ว ยังมีความก้าวหน้าด้านการบริหารจัดการ เช่น ด้านการให้บริการข้อมูล เพื่อวางแผนการผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพมาตรฐานสากล การประเมินและวิเคราะห์ความต้องการกำลังคนรองรับกำลังคนในอุตสาหกรรม 4.0 และภาคบริการ ซึ่งดำเนินการภายใต้ความร่วมมือกับสถานประกอบการ และหน่วยงานในพื้นที่ทุกภาคส่วน ซึ่งขณะนี้ สอศ. ได้จัดทำเว็บไซต์ eec.vec.go.th . เพื่อให้บริการข่าวสารข้อมูลความก้าวหน้าในการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา อัตราความต้องการกำลังคนของภาคอุตสาหกรรม หลักสูตรที่สอดคล้องกับ S-Curve และ New S-Curve เช่น สาขายานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรมการบิน-ซ่อมบำรุงอากาศยาน โลจิสติกส์ การคมนาคมระบบรางคู่และรถไฟฟ้าความเร็วสูง เป็นต้น
“เรามีเป้าหมายการผลิตกำลังคนอาชีวศึกษา ปี 2560-2564 เพื่อสนับสนุนเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยมีหลักสูตรระยะสั้น 125,880 คน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 29,925 คน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 39,250 คน และปริญญาตรี 2,430 คน “ พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าว ... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/education/582731
กศน. | ครู กศน. | ครูนอกระบบ