Header Ads

ตัวอย่าง ข้อสอบเก่า ความรู้ความสามารถทั่วไป กพ แนวข้อสอบ กพ ข้อสอบ กพ 56 ชุดที่ 7

   

 ข้อสอบ(ภาค ก.)  ก.พ.3 จำนวน 1,041 ข้อ 
1. วิชาความสามารถทั่วไป  จำนวน 526 ข้อ 
   (1) ความสามารถทางด้านการคิดคำนวณ
        ทดสอบความสามารถในการประยุกต์ใช้ความคิดรวบยอดทาง
   คณิตศาสตร์เบื้องต้นการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของจำนวนหรือ
   ปริมาณ การแก้ปัญหาเชิงปริมาณ และข้อมูลต่างๆ
   (2) ความสามารถด้านเหตุผลทดสอบความสามารถในการคิดหา
        ความสัมพันธ์เชื่อมโยงของคำ ข้อความ หรือรูปภาพ การหาข้อยุติ 
    หรือข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญญลักษณ์ สถานการณ์
    หรือแบบจำลองต่างๆ
 - ข้อสอบหาเหตุผลแบบต่างประเภท ข้อสอบหาเหตุผลแบบจัดเข้าพวก
องค์ประกอบเกี่ยวกับหาเหตุผล เช่นข้อสอบหาเหตุผลแบบไม่เข้าพวก ข้อสอบหาเหตุผลแบบ\อุปมาอุปไมยข้อสอบหาเหตุผลแบบสรุปความ ข้อสอบหาเหตุผลแบบเหตุผลเชิงนามธรรม
ข้อสอบหาเหตุผลแบบอนุกรมมิติ 
องค์ประกอบเกี่ยวกับความเข้าใจภาษา เช่น ศัพท์สัมพันธ์ การเติมคำให้สมบรูณ์ ความเข้าใจจากข้อความที่กำหนดให้ ความเข้าใจจากคำประพันธ์ 
องค์ประกอบเกี่ยวกับมิติสัมพันธ์ มิติสัมพันธ์แบบตัดรูป มิติสัมพันธ์แบบหมุนสรุปรูปหรือเลื่อนรูป มิติสัมพันธ์แบบต่อรูป ซ่อนรูป ซ้อนรูป  พับกระดาษ พับกล่อง 
องค์ประกอบเกี่ยวกับความคล่องแคล่วในการใช้ถ้อยคำ เช่น ให้เติมวิภัติ ให้เติมปัจจัย  ให้เขียนคำตอบข้อแม้ ให้หาคำตอบเฉพาะหรือศัพท์ ให้เรียงคำให้ได้ความหมาย  จำแนกคำ 
แบบดทดสอบความถนัดทางการเรียน เช่น แบบจัดเข้าพวก แบบ\อุปมาอุปไมย แบบสรุปความ แบบลำดับภาพ 
แบบดทดสอบมิติสัมพันธ์ เช่น แบบหมุนภาพบนพื้นราบ  แบบซ่อนภาพ  ซ้อนภาพ แยกภาพ  แบบบล็อก  แบบทำให้รูปสมบรูณ์  แบบอนุกรมมิติ โจทย์ทดสอบเชาว์แบบพิเศษ  ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ 
องค์ประกอบเกี่ยวกับจำนวน เช่น อนุกรมธรรมดา  อนุกรมผสม อนุกรม เชิงซ้อน อนุกรมสัมพันธ์ 
องค์ประกอบความเร็วในการรับรู้ เช่นข้อสอบตัวเลขตัวอักษรที่เหมือนกัน หรือตัวอักษรที่กลับกัน  ข้อสอบแบบให้หาคำที่เหมือนกันจากข้อกำหนดสองชุดที่เรียงสลับกัน ข้อสอบให้หารูปที่เหมือนกันองค์ประกอบเกี่ยวกับความจำ เช่น ข้อสอบถามความจำจากเรื่องที่กำหนด ข้อสอบถามความจำจากสัญลักษณ์เดี่ยว ข้อสอบถามความจำจากสัญลักษณ์ที่เป็นพวก  แบบทดสอบความถนัดทางการเรียน 
ตัวอย่าง ข้อสอบเช่น
จงหาจำนวนเลขที่จะเติมในช่องว่างเพื่อให้เข้าอันดับกับชุดของตัวเลขที่กำหนดให้
1. 75   66   57   48   ….
ก. 39                                      ข. 28                                      ค. 26                                        ง.16
ฉลยข้อ ก.  แนวคิด  เลขที่โจทย์กำหนดให้หลักหน่วยจะเพิ่มขึ้นทีละ 1 คือ 5  6  7  8
ดังนั้นตัวต่อไป คือ 9  หลักสิบลดลงทีละ 1 คือ 7  6  5  4 
ดังนั้นตัวต่อไปคือ 3 จะได้เลขที่ต้องการคือ  39
2. 17  13  10  8  … 
ก. 4                                      ข. 5                                        ค. 6                                        ง. 7
เฉลยข้อ ง.  แนวคิด     เลขที่โจทย์กำหนดให้จะลดเป็นชุดตามลำดับดังนี้                                                                      
จาก 17   13  ลด  4 , 13  10 ลด  3 ,  10  8  ลด 2       
ดังนั้น จาก 8  ต้องลด 1 คือ 8-1 = 7 
3. สินค้าราคา 800 บาท ยอมลดให้ 8 % แต่มีข้อแม้ว่าต้องเสียค่าห่อ 8 บาท อีกต่างหาก ถ้าต้องการซื้อของนี้ จะต้องจ่ายเงินเท่าไร
ก. 644  บาท                                ข. 744  บาท                              ค.  844  บาท                     ง.  944  บาท
เฉลย ข้อ ข . แนวคิด        เงิน   100 บาท ลดให้            =   8          บาท 
เงิน   800 บาท ลดให้           =    = 64  บาท                                                                   
ดังนั้นซี้อได้ในราคา   800-64 = 736 บาท  รวมกับค่าห่ออีก 8 บาท = 744 บาท                                                                   
4. ถ้าครอบครัวนี้ประมาณการใช้จ่ายเดือนละ 4,200 บาท จะใช้จ่ายในการเดินทางทั้งสิ้นเท่าไร                 
 ก. 336 บาท                          ข. 235   บาท                     ค. 525 บาท               ง. 430 บาท                 
     
เฉลย ข้อ ก.  แนวคิด   จากแผนภูมิค่าเดินทาง          8%                                                                             
แสดงค่าใช้จ่าย 100 บาท เป็นค่าเดินทาง 8 บาท                                                           
ถ้าค่าใช้จ่าย 4,200 บาท เป็นค่าเดินทาง = 336 บาท
5. ค่าใช้จ่ายการซื้อเสื้อผ้า ภาษี และค่าเดินทาง มีสัดส่วนเป็นกี่องศา                                                            
ก. 100 องศา                         ข. 80 องศา                     ค. 75   องศา                  ง.110  องศา          
           
เฉลย ข้อ ก.  แนวคิด   จากแผนภูมิค่าใช้จ่ายเสื้อผ้า+ภาษี+เดินทาง                                                                    
=    15%+12%+8% =35%  
วิชาภาษาไทย จำนวน 515 ข้อ  (อธิบายคำตอบชัดเจนต่างจากตำราเล่มอื่นๆ)
   (1) ความเข้าใจภาษา
      ทดสอบความสามารถในการอ่านและการทำความเข้าใจกับบทความหรือข้อความที่กำหนดให้แล้วตอบคำถามที่ตามมาในแต่ละบทความ หรือข้อความ ทั้งนี้ รวมไปถึงการสรุปความ และตีความด้วย
     (2) การใช้ภาษา
        ทดสอบความสามารถในการเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำ การเขียน  ประโยคได้ถูกต้องตามหลักภาษาและการเรียงข้อความ 
ตัวอย่าง ข้อสอบเช่น 
1. ข้อใดมีจำนวนพยางค์น้อยที่สุด 
1.คณะรัฐบุรุษ        2.ประชาธิปไตย               3.ผลิตภัณฑ์ชุมชน              4.  ปรากฏการณ์ธรรมชาติ   
คำตอบที่ถูกต้องคือ 2  คำอธิบาย ตัวเลือกข้อ 2 ประชาธิปไตย (ประ - ชา - ทิ - ปะ - ตัย) มีจำนวนพยางค์น้อยที่สุด คือ มีอยู่ 5 พยางค์ตัวเลือกข้อ 1 คณะรัฐบุรุษ (คะ - นะ - รัด - ถะ - บุ - หรุด) มีจำนวนพยางค์ 6 พยางค์ตัวเลือกข้อ 3 ผลิตภัณฑ์ชุมชน (ผะ - หลิด - ตะ - พัน - ชุม -ชน) มีจำนวนพยางค์ 6 พยางค์ตัวเลือกข้อ 4 ปรากฏการณ์ธรรมชาติ (ปรา - กด - ตะ - กาน - ทำ - มะ - ชาด) มีจำนวนพยางค์ 7 พยางค์       
 2. ข้อใดมีคำตายมากที่สุด 
1.ริมโบสถ์ระเบียงเคียงฐานบาตร ดื่นดาษผู้คนอยู่จนสาย 
2.เห็นน้ำรักพร่ำออกทั้งดอกผล ไม่มีคนรักรักมาหักสอย 
3.ถือขันตีทีนั้นจะขันแตก ทั้งศีลแทรกสูดออกกระบอกหู 
4.ถึงมาดแม้นตกยากต้องถากหญ้า จะอาสาแทนน้องอย่าหมองศรี 
คำตอบที่ถูกต้องคือ 3 คำอธิบาย  ตัวเลือกข้อ 3 มีคำตายมากที่สุด คือ 7 คำ ได้แก่ จะ, แตก, แทรก, สูด, ออก, กระ, บอกตัวเลือกข้อ 1 มีคำตาย 4 คำ ได้แก่ โบสถ์, ระ (เบียง), บาตร, ดาษ ตัวเลือกข้อ 2 มีคำตาย 6 คำ ได้แก่ รัก, ออก, ดอก, รัก, รัก, หัก ตัวเลือกข้อ 4 มีคำตาย 5 คำ ได้แก่ มาด, ตก, ยาก, ถาก, จะ      3. ข้อใดแสดงความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด 
1.ตักบาตรร่วมขัน        2.ตายประชดป่าช้า               3.ทำบุญเอาหน้า          4.สวรรค์ในอกนรกในใจ   
คำตอบที่ถูกต้องคือ 1  คำอธิบาย  ตัวเลือกข้อ 1 คำว่า ตักบาตรร่วมขัน หมายถึง เคยทำบุญร่วมกันมา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดว่า เมื่อชาติที่แล้วเคยทำบุญร่วมกัน ดังนั้น มาชาตินี้จึงได้มาพบกันตัวเลือกข้อ 2 คำว่า ตายประชดป่าช้า หมายถึง แกล้งทำเป็นพูดแดกดันประชดฝ่ายหนึ่ง แต่ตนเองกลับเป็นฝ่ายเสียหายจากการทำหรือการพูดนั้นเอง ตัวเลือกข้อ 3 คำว่า ทำบุญเอาหน้า หมายถึง ทำบุญเพื่ออวดผู้อื่น ไม่ใช่ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ตัวเลือกข้อ 4 คำว่า สวรรค์ในอกนรกในใจ หมายถึง ความสุขหรือความทุกข์ที่อยู่ในใจของผู้ทำ     
          
4. ข้อใดวางส่วนขยายถูกต้อง 
1.อาจารย์อนุญาตให้นักเรียนทำรายงานทางวิชาการตามโครงร่างที่เสนอมา    
2.พ่อแม่คงต้องสนับสนุนเพื่อให้ลูกประสบความสำเร็จอย่างถูกทาง   
3.การพูดโน้มน้าว แม้ไม่มีหลักฐานมาประกอบที่มีเหตุผลก็พอจะเชื่อถือได้   
4.ยุวมัคคุเทศก์สามารถอธิบายเรื่องพันธุ์พืชสมุนไพรอย่างน่าสนใจตามรายทาง  
คำตอบที่ถูกต้องคือ 1  คำอธิบาย ตัวเลือกข้อ 1 วางส่วนขยายได้ถูกต้องแล้ว ตัวเลือกข้อ 2 ควรเขียนว่า "พ่อแม่คงต้องสนับสนุนลูกเพื่อให้ประสบความสำเร็จ" ตัวเลือกข้อ 3 ควรเขียนว่า "แม้ไม่มีหลักฐานมาประกอบ การพูดโน้มน้าวก็พอจะเชื่อถือได้" ตัวเลือกข้อ 4 ควรเขียนว่า "ตามรายทางยุวมัคคุเทศก์สามารถอธิบายเรื่องพันธุ์พืชสมุนไพรตามรายทางอย่างน่าสนใจ"                                                  
                                                                                                                               
5. ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถาม
 "(1) เป้าหมายของโครงการบ้านมั่นคง คือ การแก้ปัญหาชุมชนแออัดอย่างยั่งยืน/ (2) โดยมุ่งเน้นให้ชุมชนเป็นแกนหลักในการแก้ปัญหากันเอง/ (3) การแก้ปัญหาไม่ใช่แค่การสร้างบ้านให้เท่านั้น แต่เป็นการพัฒนาที่อยู่อาศัยแนวใหม่ที่ชุมชนเป็นผู้กำหนดและรับผลแห่งการพัฒนาอย่างครบวงจร เช่น สร้างบ้านตามแบบที่ชุมชนกำหนดเอง มีระบบกองทุนภายในกลุ่มออมทรัพย์/ (4) โครงการแล้วเสร็จเมื่อใด ชุมชนก็จะมีแต่ความสะดวก ปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมที่ดี"
ผู้กล่าวข้อความใช้กลวิธีใดเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 
1.แสดงให้ประจักษ์ถึงข้อเท็จจริง                         2.แสดงให้ประจักษ์ถึงความน่าเชื่อถือ   
3.แสดงให้ประจักษ์ถึงข้อดีเพียงด้านเดียว            4.แสดงให้ประจักษ์ตามกระบวนการเหตุและผล    
คำตอบที่ถูกต้องคือ 4  คำอธิบาย  ตัวเลือกข้อ 4 แสดงให้ประจักษ์ตามกระบวนการเหตุและผล เช่น จากข้อความ "การแก้ปัญหาไม่ใช่การสร้างบ้านให้เท่านั้น และรับผลแห่งการพัฒนาอย่างครบวงจร" จะเห็นว่าข้อความเป็นเหตุและเป็นผลกัน  
6. จงเรียงลำดับข้อความต่อไปนี้ตามระดับของภาษา โดยเริ่มจากภาษาระดับทางการ กึ่งทางการ ไม่เป็นทางการและกันเอง
ก. ทำไมผู้หญิงที่มีลูกแล้วถึงอ้วน สาเหตุที่คนมักนึกไม่ถึงคือแม่เสียดายของที่ลูกกินเหลือ
ข. ผู้หญิงที่ปล่อยให้พุงพลุ้ยเป็นพะโล้อย่างนี้ นอกจากจะดูไม่ได้แล้วยังจะตายไวเสียด้วย
ค. การประชุมวิชาการเรื่องโรคอ้วนครั้งนี้จัดขึ้น เนื่องจากโรคอ้วนเป็นปัญหาทางสุขภาพที่ทุกประเทศทั่วโลกกำลังประสบอยู่
ง. การลดน้ำหนักด้วยวิธีง่ายๆ นั้น เราจะต้องควบคุมอาหารและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง 
1.ง., ก., ค. และ ข              2.ค., ก., ข. และ ง.                3.ค., ง., ก. และ ข.              4.ง., ก., ข. และ ค.   
คำตอบที่ถูกต้องคือ 3 คำอธิบาย คำตอบที่ 3 ค. ภาษาทางการ (ภาษาเขียน) ง. ภาษากึ่งทางการ มีคำว่า “วิธีง่ายๆ” เป็นภาษาพูด ก. ภาษาไม่เป็นทางการ มีคำว่า “มักนึกไม่ถึง ลูกกินเหลือ” ข. ภาษากันเอง มีคำว่า “พุงพลุ้ย พะโล้” 
 7. ข้อใดใช้ภาษากระชับ 
1.เคล็ดลับในการทำแกงส้มไม่ให้มีกลิ่นคาวคือต้องใส่ปลาในแกงขณะที่น้ำแกงกำลังเดือด   
2.นำพริกใส่ครก โขลกเบาๆ พอให้เม็ดพริกแตกไม่ต้องให้ละเอียดมาก   
3.มีผู้กล่าวว่าคนที่กินผักกินปลาเป็นประจำจะไม่ค่อยเป็นโรคหัวใจ    
4.นำเนื้อหมูสับใส่ครกตำคลุกรวมให้เป็นเนื้อเดียวกัน   
คำตอบที่ถูกต้องคือ 3  คำอธิบาย คำตอบที่ 3 ใช้ภาษากระชับ อ่านแล้วรู้เรื่องไม่มีคำฟุ่มเฟือย คือ มีผู้กล่าวว่าคนที่กินผักกินปลาเป็นประจำจะไม่ค่อยเป็นโรคหัวใจ เป็นการเน้นคำว่า “ กิน” คำตอบที่ 1 มีคำว่า แกง ถึง 3 แห่ง แกงส้ม ใส่ปลาในแกง น้ำแกง ใช้ว่า ใส่ปลาในน้ำแกงเลยจะดีกว่า คำตอบที่ 2 โขลกเบาๆ กับ ไม่ต้องให้ละเอียดมาก ความหมายเดียวกัน คำตอบที่ 4 ใส่ครก ตำคลุกรวม ใช้คำฟุ่มเฟือย       
 8. ข้อใดเป็นเจตนาของผู้เขียนข้อความต่อไปนี้
"การอยู่ใกล้คนฉลาดนั้น แม้จะอยู่ในนรกก็ยังดีกว่าอยู่ร่วมกับคนโง่บนสวรรค์ เพราะคนฉลาดย่อม
แสวงหาความสุขได้ แม้ในเรื่องหรือเหตุการณ์ที่น่าจะเป็นทุกข์ มองในมุมกลับ คนโง่ย่อมประสบความทุกข์ แม้ในเรื่องที่น่าจะสุข" 
1.เสนอให้เปลี่ยนมุมมอง     2.สอนให้เลือกคบคน     3. แนะให้หาความสุข    4.  เตือนให้รู้จักปรับตัว   
คำตอบที่ถูกต้องคือ 2  คำอธิบาย คำตอบที่ 2 สอนให้เลือกคบคน สังเกตจากคำว่า "อยู่ใกล้คนฉลาด, อยู่ร่วมกับคนโง่" เป็นเจตนาของผู้เขียนว่าควรเลือกคบคน 
9. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของคำประพันธ์ต่อไปนี้
 "ฉับฉวยชกฉกช้ำ  ฉุบฉับ" 
1.ชกอย่างฉวยโอกาส             2.ชกอย่างรวดเร็ว            3.ชกอย่างคล่องแคล่ว        4.ชกอย่างเมามัน   
คำตอบที่ถูกต้องคือ 4  คำอธิบาย คำตอบที่ 4 ชกอย่างเมามัน ไม่ใช่ความหมายนี้คำตอบที่ 1 ชกฉวยโอกาส มีคำว่า “ฉับฉวยชก”คำตอบที่ 2 ชกอย่างรวดเร็ว มีคำว่า “ชกฉกช้ำ” คำตอบที่ 3 ชกอย่างคล่องแคล่ว มีคำว่า “ฉุบฉับ” 
กลอนแปดธรรมดา เคล็ดลับการทำข้อสอบอนุกรม,เฉลยข้อสอบ ภาค ก,เฉลยข้อสอบ กพ,เทคนิคการทำข้อสอบ กพ

   กศน. | ครู กศน. | ครูนอกระบบ
ขับเคลื่อนโดย Blogger.