1 ต.ค.60 นี้ เริ่มใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แค่แตะบัตรก็จ่ายเงินแล้ว
( ข่าวสำหรับผู้มีรายได้น้อยที่ผ่านการตรวจสอบการขึ้นทะเบียน 12 ล้านคน )
รัฐจะเติมเงินเข้าบัตรให้ทุกงวด แต่.. งวดใดใช้ไม่หมดก็ทิ้งส่วนที่เหลือเลย ไม่สะสมยกไปรวมกับงวดใหม่
( ส่วนใหญ่ 1 งวด = 1 เดือน, บางอย่าง 1 งวด = 3 เดือน )
.
เช่น
- ค่าส่วนลดซื้อก๊าซหุงต้มจากร้านค้าที่กระทรวงพลังงานกำหนด งวดละ 3 เดือน คนละ 45 บาท
รัฐจะเติมเงินเข้าบัตรให้ทุกงวด แต่.. งวดใดใช้ไม่หมดก็ทิ้งส่วนที่เหลือเลย ไม่สะสมยกไปรวมกับงวดใหม่
( ส่วนใหญ่ 1 งวด = 1 เดือน, บางอย่าง 1 งวด = 3 เดือน )
.
เช่น
- ค่าส่วนลดซื้อก๊าซหุงต้มจากร้านค้าที่กระทรวงพลังงานกำหนด งวดละ 3 เดือน คนละ 45 บาท
- ค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น/สินค้าเพื่อการศึกษา/การเกษตร จากร้านธงฟ้าฯและร้านค้าอื่นที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด ( เช่น ซื้อข้าวสาร ผงซักฟอก ยาสีฟัน ชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียน ปุ๋ย.. ห้ามนำไปใช้หนี้หรือซื้อสุรา บุหรี่ )
งวดละ 1 เดือน
( ถ้ามีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท/ปี ได้ 300 บาท/เดือน, ถ้ามีรายได้ 30,000 ถึง 1 แสนบาท ได้ 200 บาท/เดือน )
ก็ไม่น้อยนะ ถ้าเดือนละ 300 บาท ก็ปีละ 3,600 บาท ทุกปี คราวก่อนแจกเช็คช่วยชาติตอนใกล้ปีใหม่ครั้งเดียว 2,000 บาท
งวดละ 1 เดือน
( ถ้ามีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท/ปี ได้ 300 บาท/เดือน, ถ้ามีรายได้ 30,000 ถึง 1 แสนบาท ได้ 200 บาท/เดือน )
ก็ไม่น้อยนะ ถ้าเดือนละ 300 บาท ก็ปีละ 3,600 บาท ทุกปี คราวก่อนแจกเช็คช่วยชาติตอนใกล้ปีใหม่ครั้งเดียว 2,000 บาท
- ค่าโดยสารรถ บขส. งวดละ 1 เดือน 500 บาท
- ค่าโดยสารรถไฟ งวดละ 1 เดือน 500 บาท
( ค่าโดยสารรถ 2 ประเภทนี้ แยกกัน เช่นถ้าเดือนใดใช้โดยสารรถ บขส.ไม่หมด 500 บาท จะนำส่วนที่เหลือไปเพิ่มเป็นค่าโดยสารรถไฟให้เกิน 500 บาทไม่ได้
น่าเสียดายที่บางคนคงจะใช้ค่าโดยสารรถไม่หมด โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้ไปไหนด้วยรถไฟ รถ บขส. ก็จะเท่ากับทิ้งเงินไปเดือนละ 1,000 บาท )
- ค่าโดยสารรถไฟ งวดละ 1 เดือน 500 บาท
( ค่าโดยสารรถ 2 ประเภทนี้ แยกกัน เช่นถ้าเดือนใดใช้โดยสารรถ บขส.ไม่หมด 500 บาท จะนำส่วนที่เหลือไปเพิ่มเป็นค่าโดยสารรถไฟให้เกิน 500 บาทไม่ได้
น่าเสียดายที่บางคนคงจะใช้ค่าโดยสารรถไม่หมด โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้ไปไหนด้วยรถไฟ รถ บขส. ก็จะเท่ากับทิ้งเงินไปเดือนละ 1,000 บาท )
ให้บัตรคนอื่นไปใช้ได้ไหม เช่นให้คนอื่นไปใช้ซื้อตั๋วรถ บขส. รถไฟ ได้ไหม
ไม่ได้ครับ ( ยกเว้นให้ผู้ที่ตนดูแลอยู่ ซึ่ง ทุพพลภาพ พิการ หรือชรา เท่านั้น )
ถ้าถูกตรวจพบ
- เจ้าของบัตรจะถูกตัดสิทธิ ไม่ได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ของบัตรอีกต่อไป
- ผู้ที่นำบัตรของผู้อื่นไปใช้ ต้องคืนเงินแก่ทางราชการ
.
แต่ มี 7 จังหวัด ที่รัฐทำไม่ทัน ( บัตรของ 7 จังหวัดนี้ เป็นแบบ 2 ชิป สามารถเชื่อมกับระบบตั๋วร่วม หรือบัตรแมงมุม เพื่อใช้ชำระใน กทม.ด้วย ) จะไปเริ่มใช้ได้ในวันที่ 17 ต.ค.60 คือ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาคร
รัฐจะชดเชยให้ 7 จังหวัดนี้ โดยถ้าเดือน ต.ค.60 ใช้ไม่หมด ให้สะสมส่วนที่เหลือยกไปรวมกับงวด พ.ย.60 ได้ )
และ 7 จังหวัดนี้จะได้รับสวัสดิการมากกว่าจังหวัดอื่น ๆ อีก คือ
- ค่าโดยสารรถเมล์/รถไฟฟ้า ใน กทม. ระบบ e-Ticket งวดละ 1 เดือน 500 บาท
ไม่ได้ครับ ( ยกเว้นให้ผู้ที่ตนดูแลอยู่ ซึ่ง ทุพพลภาพ พิการ หรือชรา เท่านั้น )
ถ้าถูกตรวจพบ
- เจ้าของบัตรจะถูกตัดสิทธิ ไม่ได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ของบัตรอีกต่อไป
- ผู้ที่นำบัตรของผู้อื่นไปใช้ ต้องคืนเงินแก่ทางราชการ
.
แต่ มี 7 จังหวัด ที่รัฐทำไม่ทัน ( บัตรของ 7 จังหวัดนี้ เป็นแบบ 2 ชิป สามารถเชื่อมกับระบบตั๋วร่วม หรือบัตรแมงมุม เพื่อใช้ชำระใน กทม.ด้วย ) จะไปเริ่มใช้ได้ในวันที่ 17 ต.ค.60 คือ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาคร
รัฐจะชดเชยให้ 7 จังหวัดนี้ โดยถ้าเดือน ต.ค.60 ใช้ไม่หมด ให้สะสมส่วนที่เหลือยกไปรวมกับงวด พ.ย.60 ได้ )
และ 7 จังหวัดนี้จะได้รับสวัสดิการมากกว่าจังหวัดอื่น ๆ อีก คือ
- ค่าโดยสารรถเมล์/รถไฟฟ้า ใน กทม. ระบบ e-Ticket งวดละ 1 เดือน 500 บาท
ขณะนี้ได้ติดตั้งเครื่องรูดบัตร ในร้านธงฟ้าฯเรียบร้อยแล้ว 3,000 แห่งทั่วประเทศ ส่วนรถโดยสารของ ขสมก. ที่ใช้บัตรได้ จะติดสติ๊กเกอร์สีเขียวข้อความว่า "รถคันนี้ใช้ระบบเก็บเงินอัตโนมัติ" ซึ่งผู้ถือบัตรเพียงนำบัตรแตะที่เครื่องอ่านบัตร ระบบจะหักค่าใช้จ่ายทันที
ผู้ที่มีบัตรนี้ ถ้าอยากให้บัตรนี้เป็นบัตรเดบิตส่วนตัวด้วย ก็ทำได้ โดยเติมเงินส่วนตัวเข้าบัตร ทางตู้ ATM
สวัสดิการอื่น ๆ ที่จะเพิ่มในอนาคต เช่น จ่ายเงินให้ผู้ทีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี ที่เข้ารับการพัฒนาความรู้/พัฒนาอาชีพ