Header Ads

ตัวอย่างข้อสอบ แนวข้อสอบ ภาค ก สำนักงาน กพ ข้อสอบเก่า กพ ปี 2556 ชุดที่ 2



1. ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน
ก. ศาสนาและจริยธรรมเป็นปัจจัยแวดล้อมชีวิตและสังคม
ข. น้ำและอากาศเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อชีวิต
ค. เพราะว่าขาดน้ำวันเดียวคนก็แทบจะตาย
ง. ยิ่งถ้าขาดอากาศด้วยแล้วสักอึดใจสองอึดใจก็อาจจะตาย
เฉลย  ข. น้ำและอากาศเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อชีวิต เป็นประโยคความซ้อน
 อธิบาย ก.    เป็นประโยคความเดียว ( มีกริยาตัวเดียว )
            ค.    เป็นประโยคความรวม ( เพราะ ... ก็ )
            ง.    เป็นประโยคความรวม ( ถ้า ... ก็ )
2. คำในข้อใดมีความหมายแฝงว่า “ อยู่นิ่งไม่ได้ ”
ก. ลิง        ข. หยุกหยิก       ค. ฟูเฟื่อง       ง. ข้อ ก. และ ข.
เฉลย ก. ลิง มีความหมายแฝงว่า อยู่นิ่งไม่ได้
อธิบาย ข. หยุกหยิก - ความหมายตรง
ค. ฟูเฟื่อง - ความหมายตรง
3. ข้อใดมีความหมายเชิงอุปมา
ก. เจ้าเนื้อ      ข. เจ้านาย      ค. เจ้าขา      ง. เจ้าไม่มีศาล
เฉลย ก. เจ้าเนื้อ หมายความว่า อ้วน เป็นความหมายเชิงอุปมา
อธิบาย  ข. เจ้านาย          - ผู้บังคับบัญชา
            ค. เจ้าขา            - เป็นคำขานรับผู้ใหญ่อย่างสุภาพ
            ง. เจ้าไม่มีศาล     - ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งเป็นสำนวนไทย
3. คำที่พิมพ์ตัวหนาคำใดเป็นคำซ้ำ
ก. น้องน้องคนนี้ทำไมชื่อน้อง          ข. เด็กคนนั้นน้องน้องเอง
ค. มาเถอะน้องน้องทั้งนั้น                ง. เอะอะก็น้องน้องพูดซ้ำซากอยู่ได้
เฉลย ง. เอะอะก็น้องน้องพูดซ้ำซากอยู่ได้ น้องน้อง ใช้ยมกแทนได้เป็นคำซ้ำ
อธิบาย ก. น้อง น้องคนนี้ทำไมชื่อน้อง
           ข. เด็กคนนั้น น้องของน้องเอง
           ค. มาเถอะน้องของน้องทั้งนั้น
4. คำสรรพนาม “ ที่ ” ซึ่งใช้เชื่อมประโยค เมื่อใช้กับคำบางคำทำหน้าที่เป็นคำนามได้ ข้อใดใช่เป็นคำนาม
ก. เป็นที่น่าสลดใจ            ข. เป็นที่ถูกอกถูกใจ        ค. เป็นที่โปรดปราน         ง. เป็นที่รัก
เฉลย ง. เป็นที่รัก “ ที่รัก ” เป็นคำนาม
อธิบาย ก. เป็นที่น่าสลดใจ เป็นคำวิเศษณ์    ข. เป็นที่ถูกอกถูกใจ เป็นคำวิเศษณ์
          ค. เป็นที่โปรดปราน เป็นคำวิเศษณ์
5. ข้อใดหมายความว่า ทำกริยา 2 อย่างพร้อมกัน
ก. ร้องไปพูดไป         ข. กินพลางพูดพลาง            ค. ร้องบ้างพูดบ้าง         ง. กินด้วยพูดด้วย
เฉลย ข. กินพลางพูดพลาง ทำ 2 อย่างพร้อมกัน
อธิบาย ก. ร้องไปพูดไป ทำกริยาทีละอย่าง
           ค. ร้องบ้างพูดบ้าง ทำกริยาทีละอย่าง
           ง. กินด้วยพูดด้วย ทำกริยาทีละอย่าง
6. ประโยคใดทำให้ผู้ฟังอยากทำตามมากที่สุด
ก. เปิดประตูที                           ข. เปิดประตูหน่อยเถอะ
ค. กรุณาเปิดประตูหน่อยค่ะ        ง. เปิดประตูหน่อยได้ไหม
เฉลย ค. กรุณาเปิดประตูหน่อยค่ะ เป็นคำที่สุภาพในการขอความช่วยเหลือ
อธิบาย    ก. เปิดประตูที                     - คำสั่ง
              ข. เปิดประตูหน่อยเถอะ        - ขอร้องแบบกระด้าง
              ง. เปิดประตูหน่อยได้ไหม     - คำสั่งแบบไม่พอใจ
7. การตอบข้อสอบแบบอัตนัยควรใช้กลวิธีการเขียนอย่างใดมากที่สุด
ก. ให้มีใจความเพียงเรื่องเดียว                ข. ให้มีความสละสลวย
ค. ให้มีการเน้นใจความสำคัญ                ง. ให้แต่ละประโยคสัมพันธ์กัน
เฉลย ค. ให้มีการเน้นใจความสำคัญ
8. “ เราอย่าไม่ดีจะดีกว่า เราอย่าไม่ดีจะดีกว่า เราอย่าไม่ดีจะดีกว่า ” ผู้เขียนใช้การซ้ำประโยคเพื่อประโยชน์ในข้อใด
ก. ย้ำให้เกิดความเข้าใจ           ข. บอกให้ทำ
ค. เกิดความงามของภาษา        ง. เล่นสำนวน
9. ข้อใดคือสาระสำคัญของข้อความนี้ 
ก. เป็นผู้ฆ่าย่อมดีกว่าเป็นผู้ถูกฆ่า
ข. เป็นผู้ถูกขโมยย่อมดีกว่าเป็นผู้ขโมย เพราะไม่ได้สร้างความเดือดร้อน
ค. อย่าเป็นคนไม่ดีเหมือนคนอื่น จงเป็นคนดี
ง. การทำกรรมต่อผู้อื่นเป็นความผิดอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นกายกรรมหรือวจีกรรม
10. ข้อใดคือเจตนาของผู้เขียน
ก. เตือนให้รู้จักระงับอารมณ์            ข. ปรามมิให้กระทำความชั่ว
ค. โน้มน้าวให้ทำความดี                 ง. สอนไม่ให้ผูกพยาบาท
11. คำขวัญในข้อใดมีการแสดงเหตุผล
ก. น้ำประปาได้ใสสะอาดปราศจากเชื้อโรค
ข. ขับรถระวังคน ข้ามถนนระวังรถ
ค. ล้อมรั้วด้วยรัก ให้ประจักษ์ไออุ่น จึงจะเป็นทุนเกื้อหนุนเด็กไทย
ง. ถ้าทิ้งขยะไม่ลงถัง ก็อย่าหวังเรื่องความสะอาด
12. ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน
ก. ศาสนาและจริยธรรมเป็นปัจจัยแวดล้อมชีวิตและสังคม
ข. น้ำและอากาศเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อชีวิต
ค. เพราะว่าขาดน้ำวันเดียวคนก็แทบจะตาย
ง. ยิ่งถ้าขาดอากาศด้วยแล้วสักอึดใจสองอึดใจก็อาจจะตาย
13. “ การขาดแคลนอาหารสำหรับบริโภค ซึ่งอาจเป็นเพราะอาหารมีไม่เพียงพอหรือเพราะขาดเงินที่จะซื้ออาหารมาบริโภค ” ข้อความนี้เป็นการอธิบายแบบใด
ก. การอธิบายจากผลลัพธ์ไปหาสาเหตุ
ข. การอธิบายจากสาเหตุไปสู่ผลลัพธ์
ค. การอธิบายด้วยการกล่าวซ้ำด้วยถ้อยคำแปลกออกไป
ง. การอธิบายตามลำดับขั้นและการให้ตัวอย่าง
14. จากข้อความในข้อ 13. ข้อใดเป็นคำเชื่อม
ก. สำหรับ หรือ ที่จะ                      ข. ซึ่ง เพราะ หรือ ที่
ค. สำหรับ อาจ หรือ ที่จะ                ง. เพราะ หรือ จะ มา
15. สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาความคิดคืออะไร
ก. ภาษา                             ข. ความรู้ความสามารถ
ค. การเรียนรู้                       ง. แหล่งความรู้
ตัวอย่างข้อสอบขุดนี้มาจาก 
E-BOOK Download คู่มือ+ข้อสอบ ภาค ก ระดับ 1-2 วุฒิ ปวช. ปวส. สำนักงาน ก.พ. ราคา 249 บาท 
จัดทำโดย... นักวิชาการเตรียมสอบข้าราชการ

กศน. | ครู กศน. | ครูนอกระบบ
ขับเคลื่อนโดย Blogger.