ตัวอย่างข้อสอบ แนวข้อสอบ ภาค ก สำนักงาน กพ ข้อสอบเก่า กพ ปี 2556 ชุดที่ 3
ก. คลอง ข. ปู่ ค. หนาว ง. ยืน
สอบ กพ 2556,สอบ กพ 2556,ข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป,ความรู้ความารถทั่วไป,แนวข้อสอบ กพ
ตอบ ก. คลอง
ลักษณะทั่วไปของภาษาคำโดดประการหนึ่งคือ คำแต่ละคำมีพยางค์เดียวและไม่มีเสียงควบกล้ำ แต่บางทีภาษาไทยก็ไม่เป็นเช่นนี้เสียทีเดียว
ทั้งนี้เพราะคำในภาษาไทยเป็นอันมากที่มีมากพยางค์
และมีเสียงควบกล้ำ เช่น คลอง คราด ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงฯลฯ
2. ข้อใดมิได้เรียงคำตามแบบภาษาไทย
ก. บาร์เบียร์ ข.เบียร์บาร์ ค. เบียร์ไทย ง. ฝาเบียร์
ตอบ ข. เบียร์บาร์
การเรียงคำตามแบบภาษาไทยนั้นจะต้องเรียงคำตามตำแหน่งหน้าที่คำใดทำหน้าที่ใด หมายความว่าอย่างไร ก็อยู่ที่การเรียงลำดับคำ การเรียงคำผิดที่ผิดตำแหน่งความหมายจะเปลี่ยนไปด้วย
เช่น คำขยายจะต้องอยู่หลังคำที่ถูกขยาย ฯลฯ
3. คำในข้อใดมิได้แสดงเพศตามแบบไทย
ก. เจ้าบ่าว ข. เจ้าสาว ค. บุรุษพยาบาล ง. อาจารย์หญิง
ตอบ ง. อาจารย์หญิง
ในภาษาคำโดด เมื่อต้องการแสดงเพศของคำนามจะใช้คำแสดงเพศมาประกอบข้างหน้า ข้างหลัง หรือประสมกันตามแบบคำประสม เช่นเจ้าบ่าว – เจ้าสาว, พระเอก – นางเอก, บุรุษพยาบาล – นางพยาบาล ฯลฯ
4. ข้อใดมีแต่จุดกักลมทั้งหมด
ก. ลิ้นไก่ เพดานอ่อน เพดานแข็ง โคนฟัน
ข. เพดานอ่อน เพดานแข็ง โคนฟัน โคนลิ้น
ค. เพดานอ่อน เพดานแข็ง โคนฟัน ริมฝีปากล่าง
ง. เพดานอ่อน เพดานแข็ง ริมฝีปากบน ปลายลิ้น
ตอบ ค. เพดานอ่อน เพดานแข็ง โคนฟัน ริมฝีปากล่าง
จุดกักลม คือ จุดที่ลมหายใจถูกกักหรือถูกขัดขวางอันเป็นที่เกิดหรือที่ตั้งของเสียง เรียกว่า ฐานกรณ์
แบ่งออกได้ดังนี้ 1. ฐานคอ 2. ฐานเพดานอ่อน 3. ฐานเพดานแข็ง 4. ฐานฟัน (โคนฟัน) 5. ฐานริมฝีปาก (ริมฝีปากล่างกับบนมาประกบกันและริมฝีปากล่างประกบกับฟันบน)
5. เสียงหนักหายไปในข้อใด
ก. ทหาร ข. ทวยหาร ค. คูณหาร ง. ตะหาน
ตอบ ก. ทหาร
การลงเสียงเน้นหนักจะสัมพันธ์กับเสียงสั้นยาวและเสียงสูงต่ำตลอดจนความหมาย โดยเสียงที่ไม่ได้เน้นนี้บางทีอาจจะออกเสียงสั้นและเบาจนแทบไม่ได้ยินและในไม่ช้าเสียงนั้นก็จะหายไปเลย
เช่น ทหาร จะไม่เน้นที่ ทะ ฯลฯ
6. เมื่อพูดจากัน คำที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดเน้นเสียงไม่เหมือนข้ออื่น
ก.ยืนอยู่ที่ชะง่อนผา ข. ไปสืบชะตา
ค. เขาชอบกินทุเรียนชะนี ง. พยาบาลช่วยชะล้างแผลให้
ตอบ ง. พยาบาลช่วยชะล้างแผลให้
โดยคำว่า ชะล้าง จะเน้นเสียงหนักที่ ชะ มากกว่าคำว่า ชะง่อนชะตา และชะนี เพราะคำว่า ชะ ในชะล้าง เป็นคำกริยา
7. คำที่มีความหมายแฝงบอกทิศทางประกอบอยู่ปรากฏในข้อใด
ก. ที่นี่มีน้ำใส ข. ที่นี่มีน้ำแข็ง ค. ที่นี่มีน้ำสะอาด ง. ที่นี่มีน้ำตก
ตอบ ง. ที่นี่มีน้ำตก
ความหมายแฝง คือ ความหมายย่อยที่แฝงอยู่ในความหมายใหญ่ซึ่งแนะรายละเอียดบางอย่างไว้ในความหมายนั้น ๆ เช่น ความหมายแฝงที่บอกทิศทาง ได้แก่ ฟู พอง เขย่ง ดิ่ง หล่น ตก ร่วง อัด ยัด ถ่ม บ้วน รุน ดัน ผลัก เฉียด ประชิด เตลิด ฯลฯ
8. การใช้คำในเชิงอุปมาอยู่ในข้อใด
ก. เขาเป็นเจว็ดอยู่ในที่ประชุม ข. เจว็ดวางอยู่ในศาลพระภูมิ
ค. เจว็ดทำด้วยแผ่นไม้รูปคล้ายเสมา ง. ฉันไม่เคยเห็นเจว็ด
ตอบ ก. เขาเป็นเจว็ดอยู่ในที่ประชุม
คำอุปมา คือ คำที่ใช้เปรียบเทียบเพื่อพรรณนาบอกลักษณะให้เห็นถนัดชัดเจนขึ้น ส่วนมากเป็นคำนามที่ใช้อยู่ใกล้ตัว แต่บางทีหาคำที่ใช้อยู่มาเปรียบให้เห็นไม่ได้ก็ต้องสร้างคำขึ้นใหม่ที่ส่วนมากจะเป็นคำประสมที่ใช้คำเดิมที่มีอยู่เป็นคำตั้งทำให้มีความหมายใหม่เกิดขึ้นอีกความหมายหนึ่ง เช่น เจว็ด (ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นประธานหรือเป็นใหญ่แต่ไม่มีอำนาจ) ฯลฯ
9. ข้อใดมีคำซึ่งอาจจะเป็นคำประสมหรือคำเดี่ยวเรียงกันก็ได้
ก. ผ้าเช็ดหน้าแห้งแล้ว ข. เอาผ้าเช็ดหน้าให้แห้ง
ค. ขอผ้าเช็ดหน้าคนป่วย ง. ขอผ้าเช็ดหน้าผืนใหม่
ตอบ ก. ผ้าเช็ดหน้าแห้งแล้ว
คำประสมบางคำมีลักษณะเหมือนคำเดี่ยวมาเรียงกันเข้าทำให้พิจารณายากว่าคำใดเป็นคำประสม คำใดไม่ใช่ ทั้งนี้เราไม่มีเครื่องหมายบอกได้ในภาษาเขียนแต่ในภาษาพูดเราใช้วิธีลงเสียงเน้น เช่น ผ้าเช็ดหน้าแห้งแล้ว เราไม่ทราบว่าประโยคนี้จะเป็นผ้า/เช็ด/หน้า/แห้งแล้ว (เป็นคำเดี่ยวเรียงกัน) หรือจะเป็น ผ้าเช็ดหน้า/แห้งแล้ว (ผ้าเช็ดหน้าเป็นคำประสม) เป็นต้น
10. ข้อใดมีอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการแบ่งคำผิด
ก. ตะขาบ มะนาว สะใภ้ ข. กะจาบ กะสุน กะดุม
ค. กะด้ง กะดูก กะบุง ง. ระคน ปะปน สะสวย
ตอบ ข. กะจาบ กะสุน กะดุม
อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการแบ่งคำผิด เกิดจากการพูดเพื่อให้เสียงต่อเนื่องกัน มีอยู่คำเดียวคือ กะ เป็นการเพิ่มเสียง กะ (ปัจจุบันใช้ กระ) หน้าคำที่เป็นชื่อนก (เช่น นกจาบ นกจอก เป็น กะจาบ กะจอก), ชื่อผัก (เช่น ผักเฉด ผักโฉม เป็น กะเฉด กะโฉม)และชื่อสิ่งที่มีลักษณะนามว่าลูก (เชน ลูกสุน ลูกดุม เป็น กะสุน กะดุม)
11. ข้อใดมีอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเทียบแนวเทียบผิด
ก. ตะขาบ มะนาว สะใภ้ ข. กะจาบ กะสุน กะดุม
ค. กะด้ง กะดูก กะบุง ง. ระคน ปะปน สะสวย
12. ข้อใดคือมีอุปสรรคเทียมที่ลงอุปสรรคเลียนแบบภาษาเขมร
ก. ตะขาบ มะนาว สะใภ้ ข. กะจาบ กะสุน กะดุม
ค. กะด้ง กะดูก กะบุง ง. ระคน ปะปน สะสวย
ตัวอย่างข้อสอบขุดนี้มาจาก
E-BOOK Download คู่มือ+ข้อสอบ ภาค ก ระดับ 3 วุฒิ ปริญญาตรี สำนักงาน ก.พ. ราคา 249 บาท
จัดทำโดย... นักวิชาการเตรียมสอบข้าราชการ
กศน. | ครู กศน. | ครูนอกระบบ